Thứ Sáu, 13 tháng 11, 2015

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์
องค์กรนำในการขับเคลื่อนนโยบายการต่างประเทศไทยเพื่อผลประโยชน์ของชาติ
พันธกิจ
๑.   เป็นตัวแทนรัฐบาลในการประชุมและการเจรจาระหว่างประเทศ ปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทย ในเวทีทวิภาคี พหุภาคี และมีส่วนร่วมในการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศ
๒.   เป็นองค์กรที่กำกับดูแลนโยบายการต่างประเทศในภาพรวม ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ
เชิงยุทธศาสตร์ นโยบาย และกลยุทธ์ด้านการต่างประเทศ ตลอดจนกฎหมายระหว่างประเทศแก่รัฐบาล
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย
๓.   คุ้มครอง ส่งเสริม และดูแลสิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรมของคนไทยในต่างประเทศ ตลอดจน
การให้บริการแก่ประชาชนด้านการกงสุล
๔.   นำองค์ความรู้จากต่างประเทศ มาตรฐานสากลและบรรทัดฐานระหว่างประเทศมาช่วยขับเคลื่อน
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย
๕.   เสริมสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในต่างประเทศและเวทีระหว่างประเทศ
๖.   ดำเนินงานเกี่ยวกับพิธีการและระเบียบแบบแผนสากลเพื่อสนับสนุนงานด้านการต่างประเทศ
๗.   ส่งเสริมและดำเนินงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี
๘.   สร้างองค์ความรู้ด้านการต่างประเทศ และให้ความรู้ความเข้าใจด้านการต่างประเทศต่อภาคส่วนต่าง ๆ และสาธารณชนไทย
๙.   บูรณาการภารกิจด้านการต่างประเทศกับทุกภาคส่วน
๑๐.  พัฒนาองค์กรให้มีความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
ค่านิยม
๑. สร้างสรรค์และเปิดกว้าง (Constructive) : มีความคิดริเริ่ม ทำงานอย่างสร้างสรรค์ รับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น และมีความพร้อมที่จะปรับตัว
๒. รับผิดชอบ (Accountable) : รับผิดชอบต่อหน้าที่และองค์กร ทำงานด้วยความเสียสละ อดทน ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และตรวจสอบได้
๓. พึ่งพาได้ (Reliable) : มีความน่าเชื่อถือ เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจของประชาชน และหน่วยงานอื่น ๆ
ในด้านการต่างประเทศ
๔. มุ่งผลสัมฤทธิ์และความเป็นเลิศ (Excellent) : มีความเป็นมืออาชีพ มุ่งมั่นทำงานให้มีผลสำเร็จและ
มีประสิทธิภาพ มั่นคงในหลักการ ยึดถือจริยธรรมและความเป็นธรรม

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย

ไทยและพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันด้านทิศเหนือและตะวันตกของไทยยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร พม่าเป็นประเทศเก่าแก่มีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลานาน แต่จากการปรับตัวที่ล่าช้าทางเทคโนโลยีและการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าว ทำให้ต้องตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษถึง 62 ปี ไทยและพม่าได้สถาปนาความสัมพันธ์กันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2491 พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศที่ 9 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยมีความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) ด้านการเมือง เนื่องจากปกครองด้วยระบอบเผด็จทหาร ทำให้ทัศนคติทางการเมืองแตกต่างกัน นอกจากนี้ปัญหาการเมืองภายในพม่าและชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันอันเป็นผลมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในประเทศอาจเกิดความขัดแย้งและบาดหมางกันได้ตลอดเวลา เช่น เหตุการณ์ยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2542 การปะทะกันตามแนวชายแดนและการทำสงครามจิตวิทยาโจมตีซึ่งกันและกันอย่างรุนแรง ในปี พ.ศ. 2544 และการพิมพ์บทความจาบจ้วงสถาบันรพระมหากษัตริย์ไทยของรัฐบาลพม่า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ระหว่างไทยและพม่า เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด แรงงานผิดกฎหมาย ผู้หลบหนีภัยการสู้รบ โดยมีการเยือนในระดับผู้นำระหว่างกันของทั้งสองประเทศ ซึ่งส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่ากลับคืนสู่สภาวะปกติอีกครั้งหนึ่ง
2) ด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างไทยกับพม่ามีทั้งรูปแบบการค้าปกติและการค้าชายแดน โดยฝ่ายไทยได้เปรียบดุลการค้ามาตลอด อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2544 ไทยเสียเปรียบดุลการค้าต่อพม่า เนื่องจากการชำระค่าก๊าซธรรมชาติที่จัดซื้อจากพม่า นอกจากนี้ไทยกับพม่ามีความตกลงการค้าระหว่ากัน ได้แก่ ความตกลงทางการค้าไทย – พม่า บันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย – พม่า และความตกลงการค้าชายแดน สำหรับการลงทุนของไทยนั้นมีมูลค่าการลงทุนเป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์และอังกฤษ ส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิต ธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว การประมง และเหมืองแร่

3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2542 ไทยและพม่าได้ลงนามความตกลงทางวัฒนธรรมไทย – พม่า โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน รวมทั้งคณะนาฏศิลป์ของทั้งสองฝ่าย มีการร่วมมือในการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุในพม่า นอกจากนี้ไทยยังให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่พม่าในด้านการเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปศุสัตว์และการประมง การคมนาคม การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบินพลเรือนด้วย

Thứ Hai, 28 tháng 9, 2015

แผนยุทธศาสตร์กระทรวงฯ


แผนยุทธศาสตร์กระทรวงการต่างประเทศ ๔ ปี (๒๕๕๘ - ๒๕๖๑)

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
เสริมสร้างสถานะเชิงยุทธศาสตร์และผลประโยชน์ของไทย

ประเด็นยุทธศาสตร์ ๘ ข้อ มีดังนี้
ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
. ส่งเสริมบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน
. เสริมสร้างสถานะความสัมพันธ์กับประเทศยุทธศาสตร์
. ผลักดันบทบาทไทยที่สร้างสรรค์และรับผิดชอบเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก
. ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
. เสริมสร้างภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่น และทัศนคติที่ดีต่อไทย
. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชน
พัฒนาขีดความสามารถขององค์กร

กระทรวงการต่างประเทศ

    
วันเดือนปีเกิด                   25 มกราคม 2493 
ชื่อคู่สมรส               นางนรีรัตน์ ปรมัตถ์วินัย (บุนนาค) 
บุตรธิดา                   นายเพื่อน ปรมัตถ์วินัย  
    

การศึกษา

   
  
  • มัธยมต้น/ปลาย:โรงเรียนสุทธิวราราม สวนกุหลาบวิทยาลัย
  • B.A. (รัฐศาสตร์) (เกียรตินิยม) University of California
    Los Angeles (UCLA)
  • M.A. (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) University of California
    Los Angeles (UCLA).
  • M.A. (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) The Fletcher School of Law
    and Diplomacy Tufts
  • University วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
    พ.ศ. 2536 (National Defense Course, A.D.1993 –วปรอ.366
 
    
ประสบการณ์   
    
2517
 เริ่มรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ (กรมการเมือง) 
 

กองเอเซียตะวันออก กองเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
สำนักเลขานุการรัฐมนตรี

 
2523
 

รักษาการหัวหน้ากองนโยบายเศรษฐกิจ
และการเงิน สำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย
หัวหน้ากองพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม
สำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย

 
2524
 เลขานุการเอกสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบอนน์  
2527
 ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบอนน์       
2528
 ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง  
2531
 อัครราชทูตสถานเอกอัครราชทูตไทย  ณ  กรุงลอนดอน  
2534
 เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง  สำนักงานปลัดกระทรวงฯ 
2535
 อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก 
 

เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งประเทศไทย
ประจำประเทศสวิตเซอร์แลนด์และวาติกัน และราชรัฐลิกเตนสไตน์

 
 อธิบดีกรมสารนิเทศ (ควบคู่กับโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ) 
 

เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน
และประเทศเกาหลีเหนือ-DPRK และมองโกเลีย

 
 

เอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพยุโรป
และราชอาณาจักรเบลเยียมและราชรัฐลักเซมเบิร์ก

 
 

เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทย
ประจำองค์การสหประชาชาติ  ณ นครนิวยอร์ค

 
 เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา                         
ส.ค.2557 – 19 ส.ค.2558 
 

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

 
23 ส.ค.2558 – ปัจจุบัน
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 
    
    
เครื่องราชอิสริยาภรณ์   
2547
 ทุติยจุลจอมเกล้า  
2546
 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 
2545
 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ  
2541
 มหาวชิรมงกุฎ 
2538
 ประถมาภรณ์ช้างเผือก 
2535
 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย 
2532
 ประถมาภรณ์ช้างเผือก  
2527
 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย 
2525
 ตริตราภรณ์ช้างเผือก 
2522
 ตริตราภรณ์มงกุฎไทย 

นโยบายการต่างประเทศ

การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
“นโยบายด้านการต่างประเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญของนโยบายองค์รวมทั้งหมดในการบริหารราชการแผ่นดิ
๑. การปกป้องและเชิดชูสถาบันกษัตริย์ และการสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย (นโยบาย รบ. ข้อ ๑, ๒)
แนวทาง คือ การเน้นย้ำการมองไปข้างหน้า และยืนยันการก้าวไปสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และยั่งยืนของไทย ตลอดจนศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางด้านต่าง ๆ ของไทยจากที่ตั้งทาง ยุทธศาสตร์ ความเข้มแข็งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และการมีบทบาทในประชาคมระหว่างประเทศ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ สถาบันฯ
กิจกรรมหลัก
(๑) การชี้แจงต่อคณะทูต/ บุคคลสำคัญ/ decision-makers/ องค์การระหว่างประเทศ/ ภาคเอกชน/ สื่อมวลชน/ ชุมชนไทย ในต่างประเทศ
(๒) การจัดทำ PR Campaign/ การจัด Roadshow
(๓) การเชิญสื่อมวลชนต่างประเทศเยือนไทย
(๔) การดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันฯ
๒. การกระชับความสัมพันธ์กับต่างประเทศและส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศ (นโยบาย รบ. ข้อ ๒, ๖, ๗)
แนวทาง คือ การสานต่อความร่วมมือกับประเทศ เพื่อนบ้านและนานาประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี และต่อยอดความร่วมมือกับประเทศยุทธศาสตร์/ มีศักยภาพ เพื่อส่งเสริมความมั่นคง ในภูมิภาคและในระดับโลก และส่งเสริม ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนร่วมกันไปในทุกมิติ
กิจกรรมหลัก
(๑) การเยือนและการประชุมทวิภาคีและพหุภาคี ในระดับราชวงศ์/ ผู้นำ/ รมว.กต./ ผู้บริหารระดับสูง
(๒) โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา
(๓) โครงการความร่วมมือด้านต่าง ๆ
(๔) โครงการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประเทศเพื่อนบ้าน
๓. การทูตเพื่อประชาชน (นโยบาย รบ. ข้อ ๒)
แนวทาง คือ การให้ความคุ้มครองและดูแลคนไทย ในต่างประเทศ รวมทั้งคนไทยที่ถูกหลอกเป็นผู้เสียหายในขบวนการค้ามนุษย์ เช่น ค้าประเวณี ลูกเรือประมงไทย และแรงงานไทยที่ประสบปัญหา ในต่างประเทศ การให้บริการด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน เช่น การทำหนังสือเดินทาง
กิจกรรมหลัก
(๑) การร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ
(๒) การจัดทำและพัฒนาระบบ Application, E-Visa, Database ของระบบตรวจลงตราและการกงสุล
(๓) การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนไทยในต่างประเทศ
๔. การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การลดความเลื่อมล้ำของสังคม การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรฯ (นโยบาย รบ. ข้อ ๒, ๓, ๙, ๑๐, ๑๑)
แนวทาง คือ การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายใน เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ในด้านที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการชี้แจงทำความเข้าใจและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการและ ผลการดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาของไทย
กิจกรรมหลัก
(๑) การเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น การประชุมด้านสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรน้ำ
(๒) การประชุมและโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับการแก้ไข บริหารจัดการชายแดน และการแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้
(๓) การร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานไทยอื่น ๆ
๕. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (นโยบาย รบ. ข้อ ๖, ๗, ๑๑)
แนวทาง คือ การสร้างความตื่นตัวต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ผ่านช่องทางต่าง ๆ และร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค (connectivity) และป้องกัน/ แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับประเทศคู่เจรจา และบทบาทการเป็นประเทศ ผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-จีน
กิจกรรมหลัก
(๑) การประชุมในกรอบต่าง ๆ ของ ASEAN
(๒) การหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๓) การผลักดันการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๔) โครงการอาเซียนสัญจร
(๕) โครงการบัวแก้วสัญจร (๖) โครงการสัมมนาวิทยุชายแดนและวิทยุสราญรมย์สัญจร (๗) การจัดบรรยายให้ความรู้ตามสถานที่ราชการสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
๖ .การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ (นโยบาย รบ. ข้อ ๖, ๗, ๙)
แนวทาง คือ การดำเนินการเชิงรุกในการสนับสนุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย การสร้างความเชื่อมั่นต่อศักยภาพและเศรษฐกิจ ของไทย และการส่งเสริมการค้าการลงทุน กับต่างประเทศ
กิจกรรมหลัก
(๑) การประชุมตามกรอบความร่วมมือในภูมิภาค และอนุภูมิภาคต่าง ๆ
(๒) โครงการแสวงหาตลาดและโอกาสในการลงทุน
(๓) การจัดทำความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (๔) โครงการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาองค์ความรู้
(๕) โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น ความมั่นคง ด้านอาหารและพลังงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม